ผู้เข้าชม

AmazingCounters.com

15 มิ.ย. 2550

หน่วยที่ 8 ภาษาคอมพิวเตอร์กับการเขียนโปรแกรม

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) หรือ ภาษาโปรแกรม (Programming Language)

  • เราสามารถที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรให้ก็ได้ภายในขอบเขตความสามารถของเครื่อง และต้องอาศัย “ภาษา” ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจความหมาย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ จะมีการทำงานโดยรู้จักคำสั่งเพียง 2 ชนิดคือ ปิด (OFF) กับ เปิด (ON) ซึ่งผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ก็ได้แปลงสถานะทั้งสองนี้ให้เทียบเท่ากับค่าตัวเลขฐาน (Binary) ซึ่งค่า 0 (Off) และ 1 (On) ดังนั้น การเขียนโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อน จึงต้องเขียนด้วยภาษาเครื่อง ซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสองล้วน ๆ แต่ละคำสั่งก็จะมีรูปแบบของภาษาเครื่องที่แตกต่างกันไป จึงเห็นว่าการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่องนี้ จะมีความยุ่งยากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนาภาษาโปรแกรมขึ้น จากระดับต่ำ เป็นระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ
    ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของภาษาคอมพิวเตอร์ และทุกภาษา ต้องมีคำสั่งต่อไปนี้
    1. คำสั่งรับข้อมูลและแสดงผล คำสั่งประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีในภาษาอีกทั้งยังต้องแจกแจงรายละเอียดต่อไปด้วยว่า รับผ่านอุปกรณ์ใด และแสดงผลทางอุปกรณ์ใด
    2. คำสั่งคำนวณ โปรแกรมหรือคำสั่งที่เขียนจะหนีไม่พ้นคำสั่งที่สั่งให้ประมวลผลประเภทบวก ลบ คูณ หาร
    3. คำสั่งที่มีการเลือกทิศทาง หรือคำสั่งให้ทำงานวนซ้ำแล้วซ้ำอีก
    4. คำสั่งให้นำข้อมูลออกหรือส่งเข้าไปในเก็บในสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกมาใช้ใหม่ได้

    วิวัฒนาการของภาษาคอมพิวเตอร์
    ภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ โดยจะสามารถแบ่งออกเป็นยุคหรือเป็นรุ่นของภาษา (Generation) ซี่งในยุคหลัง ๆ จะมีการพัฒนาภาษาให้มีความสะดวกในการอ่านและเขียน ง่ายขึ้นกว่าภาษาในยุคแรก ๆ เนื่องจากจะมีโครงสร้างภาษาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ
    มีการแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ ออกเป็นยุคได้ 5 ยุค ดังนี้
    ยุคที่ 1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
    ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
    ยุคที่ 3 ภาษาชั้นสูง (High-level Language)
    ยุคที่ 4 ภาษาชั้นสูงมาก(Very high-level Language)
    ยุคที่ 5 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)


ยุคที่ 1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
เป็นภาษาที่เกิดขึ้นในยุคแรกสุด และเป็นภาษาเดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจคำสั่งได้ ภาษาเครื่องจะแทนข้อมูลหรือคำสั่งในโปรแกรมด้วยกลุ่มของตัวเลข 0 และ 1 หรือที่เรียกว่า ตัวเลขฐานสอง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเปิด (0) และการปิด (1) หรือที่เรียกว่า ตัวเลขฐานสอง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเปิด (On) และการปิด (Off) ของสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทจะมีภาษาเครื่องที่เป็นของตนเอง ไม่สามารถนำภาษาเครื่องที่ใช้กับเครื่องประเภทหนึ่งไปใช้กับเครื่องประเภท อื่นได้ เนื่องจากแต่ละระบบก็จะมีชุดคำสั่งของภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป จึงได้มีการพัฒนารูปแบบของภาษาเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านหรือเขียนมากขึ้น

ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
เป็นภาษาที่มีการ สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น
• A ย่อมาจาก ADD หมายถึง การบวก
• S ย่อมาจาก SUBTRACT หมายถึง การลบ
ถึงแม้ว่า สัญลักษณ์เหล่านี้จะไม่ใช่คำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษ แต่ก็ทำให้นักเรียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องจดจำเลข 0 และ 1 ของเลขฐานสองอีก นอกจากนี้ภาษาแอสเซมบลี ยังอนุญาตให้ผู้เขียนใช้ตัวแปรที่ตั้งขึ้นมาเองในการเก็บค่า ข้อมูลใดๆ แทนการอ้างถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลจริง ๆ ภายในหน่วยความจำ
ดังได้กล่าวแล้วว่า เครื่องคอมพิวเตอร์จะรู้จักเฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการแปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปลให้เป็นภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดี จึงเหมาะที่จะใช้เขียนในงานที่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง เช่นงานทางด้านกราฟิก หรืองานพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบ ต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าภาษานี้ จะง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษาเครื่อง แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาชั้นต่ำที่ยังยากต่อการเขียนและการเรียนรู้มากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เท่าใดนัก

ยุคที่ 3 ภาษาชั้นสูง (High-level Language)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษารุ่นที่ 3 ( 3rd Generation Languages หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่ถูกสร้างขี้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษทั่ว ๆ ไป และที่สำคัญคือผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ก็สามารถเขียนได้ ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ได้แก่
• ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
• ภาษาโคบอล (COBOL)
• ภาษาเบสิก (BASIC)
• ภาษาปาสคาล (PASCAL)
• ภาษาซี (C)
• ภาษาเอดา (ADA)
โปรแกรมภาษาในรุ่นนี้ จะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อมีการแปลงให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน ซึ่งวิธีการแปลงจากภาษาชั้นสูงให้เป็นภาษาเครื่องนั้น จะทำได้โดยตัวแปลภาษาที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ตัวใดตัวหนึ่ง โดยภาษาชั้นสูงแต่ละภาษา จะมีตัวแปลภาษาเฉพาะ เป็นของตัวเอง ไม่สามารถนำตัวแปลของภาษาหนึ่งไปใช้กับอีกภาษาหนึ่งได้ นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ สามารถนำโปรแกรมที่เขียนนี้ไปใช้งานบนเครื่องใดก็ได้ เพียงแต่ต้องทำการแปลโปรแกรมใหม่เท่านั้น ภาษารุ่นที่ 3 นี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ ภาษามีแบบแผน (Procedural Language) เนื่องจากลักษณะการเขียนโปรแกรมจะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบ ต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนทุกอย่าง
การเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการเลือกใช้ภาษาใดในการเขียนโปรแกรม จะต้องดูจากลักษณะงานที่ทำอยู่ ซึ่งแต่ละภาษาก็จะเหมาะกับงานเฉพาะอย่างไป เช่น


ยุคที่ 4 ภาษาชั้นสูงมาก(Very high-level Language)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษารุ่นที่ 4 (4GLs) ภาษานี้เป็นภาษาที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าภาษารุ่นที่ 3 มีลักษณะของภาษาที่เป็นธรรมชาติ คล้าย ๆ กับภาษาพูดของมนุษย์ จะช่วยในเรื่องของการสร้างแบบฟอร์มบนหน้าจอเพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อมูล รวมไปถึงการออกรายงาน ซึ่งจะมีการจัดการที่ง่ายมาก ไม่ยุ่งยากเหมือนภาษารุ่นที่ 3
ตัวอย่างภาษารุ่นที่ 4 ได้แก่
• Visual Basic
• Visual C
• Delphi
ลักษณะของภาษารุ่นที่ 4 มีดังต่อไปนี้
• เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งเป็นลักษณะที่ผู้ใช้เพียงแต่บอกคอมพิวเตอร์ว่า ต้องการอะไร แต่ไม่ต้องบอกถึงรายละเอียดว่า ต้องทำอย่างไร คอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการให้เองหมด
• ส่วนใหญ่จะพบการใช้งานของภาษารุ่นที่ 4 ควบคู่อยู่ในระบบฐานข้อมูล โดยผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล สามารถดูแลจัดการข้อมูลในระบบผ่านภาษารุ่นที่ 4 ได้
• ภาษารุ่นที่ 4 จะมีรูปแบบการเขียนโปรแกรมเฉพาะตัว และสามารถถูกแปลงให้กลายเป็นโปรแกรมรุ่นที่ 3 ได้ เช่น ภาษาโคบอล หรือ ภาษาซี

ยุคที่ 5 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
เป็นภาษาในยุคที่ 5 ที่มีรูปแบบเป็นแบบ nonprocedural เช่นเดียวกับภาษารุ่นที่ 4 การที่เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ เพราะจะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ภาษามนุษย์ได้โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปคำสั่งที่มนุษย์ป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปของภาษาพูดมนุษย์ ซึ่งอาจมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว แต่คอมพิวเตอร์ก็สามารถแปลคำสั่งเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ถ้าคำถามใดไม่กระจ่าง ก็จะมีการถามกลับเพื่อให้เข้าใจคำถามได้อย่างถูกต้อง
ภาษาธรรมชาตินี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีทางด้านระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในสาขา ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งที่สามารถคิดและตัดสินใจได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คอมพิวเตอร์สามารถตอบคำถามของมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งมีข้อแนะนำต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของมนุษย์ได้อีกด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้จะใช้กับงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ทางการแพทย์ การพยากรณ์อากาศ การวิเคราะห์ทางเคมี การลงทุน
ซึ่งในการนี้จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข่าวสารจาก ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ และแปลงให้อยู่ในรูปของกฎเกณฑ์ และข้อความจริงต่าง ๆ เก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่เรียกว่า ฐานความรู้ (Knowledge Base) ซึ่งจะต้องเก็บ ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลและให้ผู้ใช้สามารถใช้ภาษา ธรรมชาติในการดึงข้อมูลจากฐานความรู้นี้ได้ ดังนั้นเราจึงอาจเรียกระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System)

หน่วยที่ 7 โครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ

โครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ
การทำงานแบบทำซ้ำ
ลักษณะของขั้นตอนวิธีการทำงาน นอกจากขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับแลละขั้นตอนวิธีแบบเลือกทำแล้ว ยังมีลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีอีกลักษณะหนึ่ง คือ ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำใช้สำหรับกรณีที่ต้องการทำกระบวนการต่าง ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง โดยมีการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการตัดสินใจ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนของการทำซ้ำ หรือออกจากขั้นตอนของการทำซ้ำ การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ ได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ
วิธีการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานและรหัสเทียมสำหรับโครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำ มีวิธีการเขียนต่างไปจากการทำงานแบบลำดับและแบบเลือกทำ แต่บางครั้งการทำงานของขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ อาจประกอบด้วยขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับหรือขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำร่วมอยู่ในขั้นตอนวิธีการทำงาน ดังนั้นการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ จะใช้การเขียนอธิบายขั้นตอน สำหรับขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะนั้น

การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ
ลักษณะของการทำงานแบบทำซ้ำ มีลักษณะการทำงานอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. ทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนการทำซ้ำหรือ ทำในขณะที่ ( Do – While )
2. ทำการตรวจสอบเงื่อนไขหลังจากการทำซ้ำหรือทำจนกระทั่ง ( Do – Until )
โครงสร้างผังงานการทำซ้ำมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ทำซ้ำในขณะที่ และ ทำซ้ำจนกระทั่ง ลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำทั้ง 2 มีการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานและรหัสเทียมสำหรับการทำซ้ำในแต่ละลักษณะ จึงมีความแตกต่างกัน

การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่
การเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่ ใช้ข้อความสำหรับการอธิบาย คือ “ในขณะที่” หรือ “ตราบใดที่” จากนั้นตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการทำซ้ำ ตามด้วยคำอธิบาย “ทำ” หลังจากนั้นคือ ขั้นตอนวิธีการทำงานทั้งหมดที่ต้องการทำซ้ำ ถ้าผลจากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง
จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่

สามารถทำการเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความได้ดังนี้
1. ในขณะที่ เงื่อนไข ทำ
1.1 Process 1

การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานย่อยที่อยู่ภายใต้การทำซ้ำ ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของกระบวนการทำงานย่อยที่อยู่ภายใต้การทำซ้ำ ถ้าเป็นลักษณะการทำงานแบบลำดับ ก็ใช้การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานแบบลำดับ ถ้าเป็นลักษณะการทำงานแบบเลือกทำ ก็ใช้การเขียนอธิบายการทำงานแบบเลือกทำ


จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่เป็นส่วนประกอบ สามารถทำการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความ ได้ดังนี้
1. ในขณะที่ A > B ทำ
1.1 A <-- A – 1
1.2 B <-- B + 1
1.3 แสดงค่าของ A และ B

ตัวอย่างที่ 1 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ ลักษณะทำในขณะที่เป็นส่วนประกอบ


จากผังงานในตัวอย่างที่ 1 จะมีกระบวนการทำงานหลักทั้งหมด 4 กระบวนการทำงาน โดยในกระบวนการทำงานที่ 3 เป็นการทำงานแบบทำซ้ำ กระบวนการทำงานย่อยที่อยู่ภายใต้การทำซ้ำเป็นการทำงานแบบลำดับ สามารถเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานได้ดังนี้
1. เริ่มต้นการทำงาน
2. กำหนดค่าให้ A เท่ากับ 1
3. ในขณะที่ A <>
3.1 คำนวณค่า A เท่ากับ A + 1
3.2 แสดงค่า A
4. จบการทำงาน

ตัวอย่างที่ 2 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำให้ขณะที่เป็นส่วนประกอบ จากผังงานมีกระบวนการทำงานหลักทั้งหมด 6 กระบวนการทำงาน โดยในกระบวนการทำงานที่ 4 เป็นการทำงานแบบทำซ้ำ กระบวนการทำงานที่เป็นการทำงานย่อยที่อยู่ภายใต้การทำซ้ำ มีทั้งการทำงานแบบลำดับและการทำงานแบบเลือกทำ สามารถทำการเขียนการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน ได้ดังนี้

1. เริ่มต้นการทำงาน
2. กำหนดค่าให้ A เท่ากับ 1
3. รับค่าของ B
4. ในขณะที่ A <>
4.1 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A + 1
4.2 ถ้า A <>
4.2.1 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A + 2 มิฉะนั้นแล้ว
4.2.2 คำนวณค่าของ B เท่ากับ B – 1
4.3 แสดงค่าของ A
5. แสดงค่าของ B
6. จบการทำงาน

รหัสเทียมสำหรับการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่
รหัสเทียมที่ใช้สำหรับการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่ รหัสเทียมที่ใช้คือ “WHILE – DO” โดยใช้รหัสเทียม “WHILE” แทนคำอธิบายว่า “ในขณะที่” หรือ “ตราบใดที่” และใช้รหัสเทียม “DO” แทนคำอธิบายว่า “ทำ” การเขียนรหัสเทียมสำหรับการทำงานย่อยที่อยู่ภายใต้การทำงานแบบทำซ้ำ จะใช้รหัสเทียมตามการทำงานในแต่ละลักษณะและใช้ย่อหน้าช่วยสำหรับในการบอกว่า รหัสเทียมนี้เป็นการทำงานย่อยของการทำซ้ำนั้น การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความ สามารถทำได้ ดังนี้
ตัวอย่างที่ 3 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำที่มีการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่เป็นส่วนประกอบ


ตัวอย่างที่ 4 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำที่มีการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่เป็นส่วนประกอบ


การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง

การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง สามารถทำการเขียนได้จากผังงานที่มีโครงสร้างผังงานเป็นการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานใช้คำอธิบายคือ “ทำจนกระทั่ง” จากนั้นตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจเพื่อกลับไปทำซ้ำ ถัดจากนั้นคือ การอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานทั้งหมดที่ต้องการทำซ้ำ
วิธีการเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานที่ต้องการทำซ้ำ ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของแต่ละกระบวนการทำงานย่อยนั้นว่า เป็นการทำงานในลักษณะใด ก็จะใช้การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานในกรณีนั้น สำหรับการเขียนอธิบาย

จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างผังงานเป็นการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง สามารถทำการเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความได้ดังนี้
1. ทำจนกระทั่ง Condition
1.1 Process


จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง สามารถทำการเขียนอธิบายขั้นตอนการทำงานในลักษณะของข้อความ ดังนี้
1. ทำจนกระทั่ง N เท่ากับ 0
1.1 รับค่าของ N
1.2 คำนวณค่าของ Sum เท่ากับ Sum + N

ตัวอย่างที่ 5 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง เป็นส่วนประกอบ


จากผังงานในตัวอย่างที่ 5 จะมีกระบวนการทำงานหลักอยู่ 4 การทำงาน โดยในกระบวนการทำงานที่ 3 เป็นการทำงานแบบทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง การทำงานย่อยที่อยู่ภายใต้การทำซ้ำ เป็นการทำงานแบบลำดับ สามารถเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานได้ดังนี้

1. เริ่มต้นการทำงาน
2. กำหนดค่าให้ A <-- 1
3. ทำซ้ำจนกระทั่ง A <>
3.1 แสดงค่า A
3.2 คำนวณค่า A เท่ากับ A + 1
4. จบการทำงาน

ตัวอย่างที่ 6 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากผังงานที่มีโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง เป็นส่วนประกอบ


จากผังงานในตัวอย่างที่ 6 มีกระบวนการทำงานหลักอยู่ทั้งหมด 6 การทำงาน ในขั้นตอนการทำงานที่ 4 เป็นการทำงานแบบทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความได้ดังนี้
1. เริ่มต้นการทำงาน
2. กำหนดให้ ANS มีค่าเท่ากับ 1
3. รับค่า N
4. ทำจนกระทั่ง N <>
4.1 คำนวณค่า ANS เท่ากับ ANS * N
4.2 คำนวณค่า N เท่ากับ N – 1
5. แสดงค่าของ ANS
6. จบการทำงาน

ตัวอย่างที่ 7 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ


จากผังงานในตัวอย่างที่ 7 มีกระบวนการทำงานหลัก 5 กระบวนการ โดยในกระบวนการทำงานที่ 3 เป็นการทำงานแบบทำซ้ำ และกระบวนการย่อยที่อยู่ภายในการทำงานที่ 3 มีทั้งการทำงานแบบลำดับและการทำงานแบบเลือกทำ สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้

1. เริ่มต้นการทำงาน
2. กำหนดค่าให้ ANS เท่ากับ 0
3. ทำจนกระทั่ง N น้อยกว่า 0
3.1 รับค่า N
3.2 ถ้า N มากกว่า 0 แล้วทำ
3.2.1 คำนวณค่า ANS เท่ากับ ANS + N
4. แสดงค่าของ ANS
5. จบการทำงาน

รหัสเทียมสำหรับการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง

รหัสเทียมสำหรับการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง รหัสเทียมที่ใช้คือ “DO – UNTIL” แทนคำอธิบายว่า “ทำจนกระทั่ง” จากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ รหัสเทียมสำหรับขั้นตอนวิธีที่เป็นการทำงานย่อยภายใต้การทำซ้ำ ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานถ้าเป็นการทำงานแบบเลือกทำ ก็ใช้รหัสเทียมสำหรับการเลือกทำ ถ้าเป็นการทำงานแบบทำซ้ำ ก็ใช้รหัสเทียมสำหรับการทำซ้ำ

ตัวอย่างที่ 8 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานที่มีการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่งเป็นส่วนประกอบ


ตัวอย่างที่ 9 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานที่มีการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่งเป็นส่วนประกอบ

ทำอะไรก็ตาม ตั้งใจทำให้ดีที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียดายในภายหลัง

หน่วยที่ 6 โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ

โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ หรือ แบบมีเงื่อนไข


  • การทำงานแบบเลือกทำ
    ลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา นอกจากขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับแล้ว ยังมีขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำ การเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำใช้สำหรับกรณีที่ต้องการเลือกวิธีการทำงานสำหรับการแก้ไขปัญหา ที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลในขณะนั้น การเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการเลือกทำ เมื่อได้ทำการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความแล้ว จากนั้นจึงทำการเปลี่ยนให้เป็นรหัสเทียม และโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ต่อไป

  • การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบเลือกทำ
    การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานแบบเลือกทำ โดยใช้คำอธิบายคือ คำว่า “ถ้า” “แล้วทำ” และ “มิฉะนั้นแล้ว”

  • การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน เริ่มต้นด้วยคำอธิบาย “ถ้า” ตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจที่อยู่ภายในสัญลักษณ์ผังงานการตัดสินใจ ถัดจากนั้นเป็นคำอธิบาย “แล้วทำ” จากนั้นเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานทุกขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำ สำหรับกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง จากนั้นใช้คำอธิบายว่า “มิฉะนั้นแล้ว” ตามด้วยขั้นตอนวิธีการทำงานทุกขั้นตอนการทำงานที่ต้องการสำหรับกรณีที่เงื่อนไขเป็นเท็จ
    จากผังงานในรูป สามารถเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานได้ดังนี้

  • 1. ถ้า Condition แล้วทำ
    1.1 Process 1
    มิฉะนั้นแล้ว
    1.2 Process 2

ตัวอย่างที่ 1 การเปลี่ยนจากผังงานเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ



  • การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากผังงาน สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือ การแยกกระบวนการการทำงานทั้งหมดของผังงาน วิธีการแยกกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานแต่ละกระบวนการสามารถทำได้ดังนี้ คือ พิจารณาที่ทิศทางเข้าและทิศทางออกของขั้นตอนการทำงาน โดยทำทีละขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่มีทิศทางเข้าและทิศทางออกเพียงอย่างละหนึ่งทิศทางเท่านั้น เช่นเดียวกับการทำงานแบบลำดับ

  • จากผังงานในรูป การทำงานสำหรับกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง มีขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงานที่ต้องทำจำนวน 2 กระบวนการทำงาน คือ รับค่าของตัวแปร A และ B อีกกระบวนการทำงานหนึ่งคือ การคำนวณค่าของ X เท่ากับ A + B สำหรับกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ มีขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงานที่ต้องทำจำนวน 2 กระบวนการทำงานเช่นกัน คือ การคำนวณค่าของ X เท่ากับ X + 10 และแสดงค่าของตัวแปร X

  • จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างการทำงานแบบเลือกทำ สามารถทำการเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้
  • 1. ถ้า X > 5 แล้วทำ
    1.1 รับค่า A , B
    1.2 คำนวณค่าของ X เท่ากับ A + B
    มิฉะนั้นแล้ว
    1.3 คำนวณค่าของ X เท่ากับ X +10
    1.4 แสดงค่าของ X

  • การเขียนผังงานที่มีโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำ ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการทำงานครบทั้ง 2 กรณีคือ กรณีที่เงื่อนไขเป็นจริง หรือ เป็นเท็จ บางครั้งอาจเขียนผังงานออกมาในลักษณะที่มีขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเพียงกรณีเดียว คือ กรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ส่วนกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ไม่มีขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำ

  • การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับผังงานที่มีลักษณะการทำงานดังกล่าว จะทำการตัดส่วนของคำอธิบาย “มิฉะนั้นแล้ว” ทิ้งไป วิธีการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน สามารถทำได้ดังนี้ คือ ขึ้นต้นด้วยคำอธิบาย “ถ้า” ตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้พิจารณาการตัดสินใจ จากนั้นเขียนคำอธิบายว่า “แล้วทำ” ถัดจากนั้นเป็นลำดับขั้นคอนการทำงานที่ต้องทำกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ถ้าจบการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานแบบเลือกทำในส่วนนั้น
ตัวอย่างที่ 2 การเปลี่ยนจากส่วนของผังงานให้เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของ ข้อความ

  • จากส่วนของผังงานในตัวอย่างที่ 2 การทำงานหลังจากการพิจารณาเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ กรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง มีขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงานที่ต้องทำ จำนวน 2 การทำงาน คือ รับค่าของ A และ B ส่วนอีกการทำงานหนึ่งคือ การคำนวณค่าโดยให้ค่าของ X มีค่าเท่ากับ A2 + B2 ส่วนกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ไม่มีขั้นตอนการทำงานใดที่ต้องทำ สามารถทำการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานได้ดังนี้
    1. ถ้า N > 0 แล้วทำ
    1.1 รับค่าของ A และ B
    1.2 คำนวณค่าของ X เท่ากับ A2 + B2
ตัวอย่างที่ 3 การเปลี่ยนจากส่วนของผังงานให้เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ



  • จากผังงานในตัวอย่างที่ 3 เมื่อพิจารณาจำนวนกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานหลักของผังงาน มีกระบวนการทำงานทั้งหมด 5 การทำงาน โดยในขั้นตอนการทำงานที่ 3 เป็นลักษณะของโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำ สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความได้ดังนี้


  • 1. เริ่มต้นการทำงาน
    2. รับค่าของ A และ B
    3. ถ้า A มากกว่า B แล้วทำ
    3.1 คำนวณค่าของ Num เท่ากับ A – B
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.2 คำนวณค่าของ Num เท่ากับ B – A
    4. แสดงค่าของ Num
    5. จบการทำงาน
ตัวอย่างที่ 4 จากผังงานการหาข้อมูลที่มากที่สุดระหว่างข้อมูล จำนวน 3 ข้อมูลที่รับเข้ามา จากนั้นทำการแสดงค่าที่มากที่สุด

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket


  • จากผังงานในตัวอย่างที่ 4 สามารถแยกกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานหลักได้ 5 ขั้นตอนการทำงาน โดยขั้นตอนการทำงานที่ 3 เป็นโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำ และมีโครงสร้างผังงานการเลือกทำซ้อนย่อยอยู่ภายใน สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้
    1. เริ่มต้น
    2. รับค่า A , B , C
    3. ถ้า A มากกว่า B แล้วทำ
    3.1 ถ้า A มากกว่า C แล้วทำ
    3.1.1 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ A
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.1.2 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ C
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.2 ถ้า B มากกว่า C แล้วทำ
    3.2.1 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ B
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.2.2 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ C
    4. แสดงค่าของ Max
    5. จบการทำงาน
ตัวอย่างที่ 5 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจากผังงาน



Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

  • จากผังงานสามารถแยกกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานหลักออกได้ทั้งหมด 5 การทำงาน ขั้นตอนการทำงานที่ 3 เป็นลักษณะโครงสร้างผังงานการเลือกทำ โดยการทำงานกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง เป็นการทำงานแบบเลือกทำซ้อนย่อยอยู่ภายใน ส่วนกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ เป็นการทำงานแบบลำดับซ้อนอยู่ภายใน สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้

  • 1. เริ่มต้นการทำงาน
    2. รับค่า A , B
    3. ถ้า A มากกว่า B แล้วทำ
    3.1 ถ้า B มากกว่า 20 แล้วทำ
    3.1.1 รับค่า A
    3.1.2 คำนวณค่าของ B เท่ากับ B + 15
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.1.3 รับค่า B
    3.1.4 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A + 10
    3.2 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A – B
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.3 คำนวณค่าของ Num เท่ากับ A + B
    3.4 แสดงค่าของ Num
    3.5 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A + 10
    4. แสดงค่าของ A , B
    5. จบการทำงาน

รหัสเทียมกับการทำงานแบบเลือกทำ

  • รหัสเทียมสำหรับขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำ คือ รหัสเทียม “IF-THEN-ELSE” โดยใช้คำรหัสเทียมแทนข้อความอธิบาย ดังนี้

  • รหัสเทียม “IF” แทนข้อความอธิบายว่า “ถ้า”

  • รหัสเทียม “THEN” แทนข้อความอธิบายว่า “แล้วทำ”

  • รหัสเทียม “ELSE” แทนข้อความอธิบายว่า “มิฉะนั้นแล้ว”

  • รหัสเทียมสำหรับส่วนของขั้นตอนวิธีการทำงานที่ต้องทำ หลังจากการตรวจสอบเงื่อนไขใช้รหัสเทียมตามลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีการทำงานนั้น คือ ถ้าเป็นการทำงานแบบลำดับ รหัสเทียมที่ใช้คือ รหัสเทียมสำหรับการทำงานแบบลำดับ ถ้าเป็นการทำงานแบบเลือกทำ รหัสเทียมที่ใช้คือ รหัสเทียมสำหรับการทำงานแบบเลือกทำ
Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

  • การเขียนรหัสเทียมที่เป็นรหัสเทียมของการทำงานย่อย ภายในการทำงานแบบเลือกทำ จะใช้ย่อหน้าช่วยเพื่อให้เห็นชัดเจนว่า เป็นรหัสเทียมที่เป็นการทำงานย่อยของรหัสเทียมใด

    Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

  • กรณีที่เขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานไม่มีส่วนของคำอธิบาย “มิฉะนั้นแล้ว” การเขียนรหัสเทียมสำหรับการทำงานในกรณีนี้ จะไม่มีส่วนของรหัสเทียม “ELSE” จากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน ในลักษณะของข้อความต่อไปนี้
Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket


ตัวอย่างที่ 6 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

ตัวอย่างที่ 7 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ


Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket


ตัวอย่างที่ 8 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ



Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket


ตัวอย่างที่ 9 ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง มีวิธีการให้ลูกค้าเลือกชำระเงินค่าสินค้าอยู่ 2 วิธีคือ
1. ซื้อสินค้าด้วยเงินสด ทางร้านค้าจะมีส่วนลดให้ 3% จากราคาสินค้า
2. ซื้อแบบผ่อนชำระ โดยทางร้านค้าจะคิดดอกเบี้ยอัตรา 1.5% ต่อเดือน โดยให้ลูกค้าเลือกจำนวนเดือนที่ต้องการจะผ่อนชำระ
ข้อมูลเข้า คือ ราคาสินค้า และวิธีการที่ลูกค้าต้องการเลือกซื้อสินค้า ถ้าลูกค้าต้องการซื้อด้วยวิธีที่ 1
ข้อมูลออกคือ ราคาสินค้าที่คิดส่วนลดเรียบร้อยแล้ว ถ้าเลือกวิธีที่ 2 ข้อมูลออกคือ จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องผ่อนชำระเป็นรายเดือน
เมื่อ ราคาสินค้าคือ Price วิธีการผ่อนชำระคือ Choice จำนวนเดือนคือ Month จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคือ Payment



Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความได้ดังนี้


Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket


ขอให้โชคดีและตั้งใจนะคะ...^___^

หน่วยที่ 5 โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ

โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ

ขั้นตอนการทำงานแบบลำดับ เป็นขั้นตอนวิธีการทำงานพื้นฐาน ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ การเขียนอธิบายการทำงานของวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ผังงาน ทำให้สามารถเห็นลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานของการแก้ปัญหาได้ชัดเจนกว่าการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความโดยตรง แต่การนำผังงานมาพัฒนาให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์โดยตรง สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกหัดการเขียนโปรแกรม อาจจะไม่สะดวก จึงต้องมีการเปลี่ยนจากผังงานให้เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความก่อน จากนั้นจึงทำการเปลี่ยนจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความให้เป็นรหัสเทียม และโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ตามลำดับ

การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจากผังงาน สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือ การแยกจำนวนของกระบวนการทำงานทั้งหมดของผังงาน การพิจารณาว่า ผังงานนั้น มีกระบวนการทำงานทั้งหมดจำนวนกี่กระบวนการ สามารถทำการพิจารณาได้จากการทำงานของกระบวนการหนึ่งกระบวนการนั้น จะมีทิศทางเข้าและทิศทางออกจากกระบวนการ มีเพียงอย่างละหนึ่งทิศทางเท่านั้น โดยทำการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจำนวนหนึ่งข้อความ ต่อกระบวนการหนึ่งกระบวนการ

ผังงานกับการทำงานแบบลำดับ

หลังจากที่ทำการหากระบวนการทำงานทั้งหมดของผังงาน ขั้นตอนต่อไปคือ การเขียนข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายการทำงานที่เหมาะสมกับกระบวนการทำงาน ข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายการทำงานของแต่ละสัญลักษณ์ของผังงาน สามารถเขียนได้ดังนี้


ตัวอย่างการเปลี่ยนจากผังงานเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ


จากรูป มีกระบวนการทำงานทั้งหมด 5 กระบวนการ สามารถเขียนการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความ ได้ดังนี้


1. เริ่มต้นการทำงาน
2. รับค่า Base และ High
3. คำนวณค่าของ Answer เท่ากับ 0.5*Base*High
4. แสดงค่าของ Answer
5. จบการทำงาน









ตัวอย่าง การเปลี่ยนจากผังงานเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ


จากรูป มีกระบวนการทำงานทั้งหมด 5 กระบวนการ สามารถเขียนการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความ ได้ดังนี้


1. เริ่มต้นการทำงาน
2. รับค่า Radian
3. คำนวณค่าของ Answer เท่ากับ 2*3.14*Radian
4. แสดงค่าของ Answer
5. จบการทำงาน








รหัสเทียมกับการทำงานแบบลำดับ
หลังจากที่ทำการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจากผังงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเปลี่ยนจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความเป็นรหัสเทียม โดยทำการเปลี่ยนจากขั้นตอนวิธีการทำงานหนึ่งการทำงานให้เป็นรหัสเทียมจำนวนหนึ่งรหัสเทียม การเขียนรหัสเทียมสำหรับการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ มีดังนี้



ตัวอย่าง การเปลี่ยนจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความเป็นรหัสเทียม



จากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความข้างต้น สามารถเขียนเป็นรหัสเทียม ได้ดังนี้

การอธิบายขั้นตอน................................................................. รหัสเทียม

1. เริ่มต้นการทำงาน ...................................................................................Begin

2. รับค่า Base และ High ............................................................................Read Base , High

3. คำนวณค่าของ Answer เท่ากับ 0.5*Base*High .................................Answer <- 0.5*Base*High

4. แสดงค่าของ Answer ..........................................................................Write Answer

5. จบการทำงาน ........................................................................................End


ตัวอย่าง การเปลี่ยนจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความเป็นรหัสเทียม

จากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความข้างต้น สามารถเขียนเป็นรหัสเทียม ได้ดังนี้

การอธิบายขั้นตอน ....................................................................รหัสเทียม

1. เริ่มต้นการทำงาน .......................................................................................Begin

2. รับค่า Radian ............................................................................................Read Radian

3. คำนวณค่าของ Answer เท่ากับ 2*3.14*Radian .....................................Answer <- 2*3.14*Radian

4. แสดงค่าของ Answer ................................................................................Write Answer

5. จบการทำงาน ............................................................................................End

ตัวอย่าง การเปลี่ยนจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความเป็นรหัสเทียม



จากผังงาน มีกระบวนการทำงานทั้งหมด 8 ขั้นตอนการทำงาน สามารถเขียนการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะข้อความ และ รหัสเทียม ได้ดังนี้

การอธิบายขั้นตอน ...................................................................รหัสเทียม

1. เริ่มต้นการทำงาน ......................................................................................Begin

2. รับค่า A , B ...............................................................................................Read A , B

3. แสดงค่าของ A , B ...................................................................................Write A , B

4. กำหนดให้ Temp มีค่าเท่ากับ A ...............................................................Temp <-A

5. กำหนดให้ A มีค่าเท่ากับ B........................................................................ A <- B

6. กำหนดให้ B มีค่าเท่ากับ Temp............................................................... B <- Temp

7. แสดงค่าของ A , B ..................................................................................Write A , B

8. จบการทำงาน........................................................................................... End

ตั้งใจนะคะ..ลูกศิษย์ที่น่ารักทุกคน ^____^

หน่วยที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน

ลักษณะโครงสร้างผังงาน


  • การเขียนผังงานใช้สำหรับช่วยในการเขียนลำดับของขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา หลังจากที่ทำการเขียนผังงานที่ใช้สำหรับแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาจากผังงานที่ได้ทำการเขียนขึ้น จากนั้นจึงทำการเขียนเป็นรหัสเทียมและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามลำดับ
    ลักษณะโครงสร้างผังงาน ที่สามารถนำไปเขียนเป็นขั้นตอนวิธีการทำงาน และรหัสเทียม สามารถแยกเป็นลักษณะโครงสร้างผังงานได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

  • 1. โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ

  • 2. โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข

  • 3. โครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ


  • ลักษณะของผังงานที่เขียนขึ้น ต้องเขียนให้อยู่ในรูปแบบของโครงสร้างหลัก 3 โครงสร้างนี้ ถ้าผังงานที่เขียนขึ้นมีโครงสร้างที่ผิดไปจากโครงสร้างหลัก การเขียนลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจะทำได้ยาก เมื่อทำการเขียนผังงานขึ้นมาแล้ว ไม่อยู่ในโครงสร้างหลักทั้ง 3 โครงสร้าง ต้องพยายามปรับโครงสร้างผังงานให้เป็นไปตามโครงสร้างหลักทั้ง 3 โครงสร้าง


  • ผังงานหนึ่งผังงาน สามารถประกอบไปด้วยหลายโครงสร้างผังงาน โดยมีโครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างผังงานลักษณะอื่น เช่น การเลือกทำ หรือการทำซ้ำเป็นโครงสร้างที่ประกอบอยู่ภายใน หรืออาจประกอบด้วยโครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับเพียงโครงสร้างเดียวก็ได้

1. โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ


  • โครงสร้างการทำงานแบบลำดับ (Sequence) เป็นลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของผังงานทุกผังงาน ลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานแบบลำดับจะทำงานทีละขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ลำดับการทำงานของผังงานจะทำงานตามทิศทางของลูกศร โครงสร้างของผังงานแบบลำดับ มีลักษณะโครงสร้างดังนี้



  • จากโครงสร้างผังงานตามรูป การทำงานจะเริ่มต้นทำงานในกระบวนการที่ 1 (Process 1) เมื่อทำงานในกระบวนการที่ 1 เสร็จ ขั้นตอนต่อไป คือ ทำงานในกระบวนการที่ 2 เมื่อทำงานในกระบวนการที่ 2 เสร็จ จึงทำงานในกระบวนการที่ 3 เป็นขั้นตอนต่อไป ตามลำดับ การทำงานจะทำงานทีละ 1 กระบวนการ การทำงานจะไม่ทำงานหลายกระบวนการพร้อมกัน

  • กระบวนการในการทำงานที่ 1 , 2 และ 3 อาจเป็นการรับข้อมูลเข้า การแสดงผลข้อมูล หรือการคำนวณ ก็ได้

  • ตัวอย่างโครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ


  • จากโครงสร้างผังงานแบบลำดับ ตามรูป สามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้
    1. เริ่มต้นการทำงาน
    2. รับค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร a และตัวแปร b
    3. คำนวณค่า a2 + b2 แล้วไปเก็บไว้ในตัวแปร x
    4. แสดงค่าในตัวแปร x
    5. สิ้นสุดการทำงาน

2. โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข


  • โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการตัดสินใจเพื่อเลือกขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ทำการประมวลผลในขณะนั้น โครงสร้างผังงานการเลือกทำประกอบด้วยสัญลักษณ์ของการตัดสินใจ 1 สัญลักษณ์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจสำหรับเลือกการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไป

  • การทำงานหลังจากการตรวจสอบเงื่อนไข จะมีการทำงานอยู่ 2 กรณีคือ

  • 1. กรณีที่มีการทำงานเพียงขั้นตอนเดียว ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง หรือเป็นเท็จ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
    ตัวอย่างเช่น






  • จากรูปโครงสร้างผังงานข้างต้น มีขั้นตอนการทำงานเพียงขั้นตอนเดียว ถ้าการตรวจสอบเงื่อนไขเป็น จริง ในกรณีนี้ หากเงื่อนไขเป็นเท็จ โปรแกรมจะข้ามไปทำงานในลำดับถัดไปเลย

  • จากรูปโครงสร้างผังงานข้างต้น มีขั้นตอนการทำงานเพียงขั้นตอนเดียว ถ้าการตรวจสอบเงื่อนไขเป็น เท็จ ในกรณีนี้ หากเงื่อนไขเป็นจริง โปรแกรมจะข้ามไปทำงานในลำดับถัดไปเลย

  • 2. กรณีที่มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือมีขั้นตอนการทำงานให้ ไม่ว่าผลการตรวจสอบเงื่อนไขจะเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
    ตัวอย่างเช่น




  • จากโครงสร้างผังงานการเลือกทำ ขั้นตอนแรกของการทำงานคือ การพิจารณาเงื่อนไข (Condition) ที่ใช้สำหรับตัดสินใจเลือกขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไป ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไปคือ การทำงานของกระบวนการที่ 1 ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไปคือ ส่วนของกระบวนการที่ 2 โดยเลือกทำงานเพียงกระบวนการเดียว ไม่ทำงานทั้ง 2 กระบวนการพร้อมกัน
    การทำงานของแต่ละกระบวนการ หมายถึง การทำงานในแต่ละลักษณะ สามารถเป็นได้ทั้งการรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูล หรือการคำนวณ และยังสามารถนำเอาโครงสร้างผังงานลักษณะอื่นมาเป็นกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้

    ตัวอย่างโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำหรือมีเงื่อนไข


  • จากตัวอย่าง ประกอบด้วยโครงสร้างผังงาน 2 โครงสร้าง คือ การทำงานแบบลำดับและการเลือกทำ การทำงานของผังงานสามารถอธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้
    1. เริ่มต้นการทำงาน
    2. รับค่าข้อมูล จำนวน 2 ค่า มาเก็บไว้ในตัวแปร X และ Y
    3. ตรวจสอบเงื่อนไข ถ้า X น้อยกว่า Y แล้วทำ
    3.1 คำนวณค่า SUM = X2*Y2
    มิฉะนั้นแล้ว
    3.2 คำนวณค่า SUM = X * Y
    4. แสดงค่า SUM
    5. จบการทำงาน
3. โครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ
  • ลักษณะโครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำกันหลายครั้ง โครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำจะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์การตัดสินใจ ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจว่า จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำซ้ำหรือไม่
    ลักษณะการทำซ้ำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
    1. ทำในขณะที่
    2. ทำจนกระทั่ง



    1. การทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่
    การทำงานของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่ (Do - While) ขั้นตอนแรกของการทำงาน คือ การตรวจสอบเงื่อนไขการทำซ้ำ ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง จึงเข้าสู่ขั้นตอนของการทำงานในส่วนของการทำซ้ำ
    ลักษณะของการทำงานในโครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำในลักษณะทำในขณะที่

  • จากรูป เมื่อทำงานในกระบวนการ ที่ 1 แล้ว การทำงานของผังงานจะกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการทำซ้ำอีกครั้ง

  • ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขยังคงเป็นจริง การทำงานจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ จึงออกจากขั้นตอนการทำซ้ำ เพื่อทำงานในขั้นตอนอื่นต่อไป


    ตัวอย่างโครงสร้างผังงานการทำซ้ำในลักษณะทำในขณะที่

  • ลำดับขั้นตอนการทำงานของผังงานนี้ คือ
    1. เริ่มต้นการทำงาน
    2. กำหนดค่าให้ a = 1
    3. ในขณะที่ a <>

3.1 คำ นวณค่า a = a + 1
3.2 แสดงค่า a

4. จบการทำงาน


  • 2. การทำซ้ำในลักษณะทำจนกระทั่ง ลักษณะของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง (Do - Until) ขั้นตอนแรกของการทำงาน คือ ทำขั้นตอนการทำงานที่ต้องการทำซ้ำก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หลังจากนั้นจึงทำการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับพิจารณาว่า จะกลับไปทำกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำหรือไม่

  • จากรูป จะทำขั้นตอนที่ต้องการทำซ้ำก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังจากนั้น จึงทำการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับพิจารณาว่าจะกลับไปทำงานกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำหรือไม่ ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ การทำงานของผังงานจะทำการย้อนกลับไปทำขั้นตอนการทำงานที่ต้องการทำซ้ำอีกครั้ง แล้วมาตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบยังคงเป็นเท็จ จะกลับไปทำกระบวนการที่ต้องทำซ้ำอีก จนกว่าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขออกมาเป็นจริง จึงออกจากขั้นตอนการทำซ้ำ เพื่อทำงานในขั้นตอนอื่นต่อไป

ตัวอย่างโครงสร้างผังงานการทำซ้ำในลักษณะทำจนกระทั่ง



  • จากรูป ประกอบด้วยลักษณะโครงสร้างผังงาน 2 ลักษณะ คือ

  • โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ

  • และการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง มีขั้นตอน ดังนี้

  • 1. เริ่มต้นการทำงาน

  • 2. กำหนดให้ a = 1

  • 3. ทำซ้ำจนกระทั่ง a <>
  • 3.1 แสดงค่า a

  • 3.2 คำนวณค่า a เท่ากับ a+1

  • 4. จบการทำงาน
ข้อแตกต่างระหว่างการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่ กับ ทำจนกระทั่ง
  • โครงสร้างผังงานการทำซ้ำ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ทำในขณะที่ และ ทำจนกระทั่ง ลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานทำซ้ำทั้ง 2 ลักษณะ มีการทำงานที่แตกต่างกัน สามารถสรุปความแตกต่างของลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำทั้ง 2 ลักษณะ ได้ดังนี้







9 มิ.ย. 2550

หน่วยที่ 3 ผังงาน

ความหมายของผังงาน (Flowchart)
ผังงาน คือ การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของ รูปภาพ
ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรก จนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ผังงาน เป็นเครื่องมือหนึ่งของการออกแบบโปรแกรมที่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากมีการใช้สัญลักษณ์ในลักษณะของรูปภาพ ทำให้สามารถเห็นลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานได้ชัดเจนกว่าการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ

ประโยชน์ของการเขียนผังงาน
· ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
· ช่วยในการตรวสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
· ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
· ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

ประเภทของผังงาน
1. ผังงานระบบ (System Flowchart)
เป็นผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานทั้งหมด ในผังงานประเภทนี้จะเห็นระบบงานภายในของระบบหนึ่ง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งหมด ทั้งวัสดุ เครื่องจักร โปรแกรม และบุคลากร
จุดมุ่งหมายของการใช้ผังงานระบบ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบทั้งหมด หรือภาพรวมของระบบทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดท้ายว่ามี ขั้นตอนอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนทำอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง ผังงานระบบนี้เหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบและผู้เขียนโปรแกรม แต่ผังงานระบบนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมได้
ลักษณะของผังงานระบบ
• แสดงขอบเขตของระบบทั้งหมด
• แสดงข้อมูลเข้าถูกเก็บอยู่ที่ใดบ้าง ใช้สื่อบันทึกข้อมูลแบบใด
• ประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ที่ใด

2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า Flowchart ผังงานประเภทนี้เป็นผังงานซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียดของโปรแกรม โดยจะแสดงรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการรับข้อมูลเข้า การคำนวณ การประมวลผล และการแสดงผลลัพธ์



วิธีการเขียนผังงานที่ดี
• ทุกผังงานต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเพียงอย่างละหนึ่งแห่งเท่านั้น
• ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้าออก
• ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
• สัญลักษณ์จุดเริ่มต้นมีเฉพาะลูกศรชี้ทิศทางออก
• สัญลักษณ์จุดสิ้นสุดมีเฉพาะลูกศรชี้ทิศทางเข้า
• สัญลักษณ์การตัดสินใจมีลูกศรชี้เข้า 1 ทิศทาง และชี้ออก 2 ทิศทาง คือ กรณีที่ผลที่ได้จากการตัดสินใจเป็นจริง หรือ เป็นเท็จ
• ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่างหรือซ้ายไปขวา
• คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจได้ง่าย
• ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
• เส้นของลูกศรที่ใช้บอกทิศทางของลำดับขั้นตอนวิธีการทำงาน ไม่ควรเขียนตัดกันหรือทับกัน
• ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

สัญลักษณ์สำหรับการเขียนผังงาน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานเพื่อสื่อความหมาย เพื่อให้เข้าใจ ตรงกันจากสถาบันแห่งชาติอเมริกัน (The American National Standard Institute : ANSI ) ได้กำหนดสัญลักษณ์ไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีรูปแบบสัญลักษณ์และความหมายที่จำเป็นต้องใช้ ดังนี้



  • จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของผังงาน
    ใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมมน ภายในสัญลักษณ์มีคำอธิบาย โดยใช้คำว่า START หรือ BEGIN สำหรับจุดเริ่มต้น และคำว่า STOP หรือ END สำหรับจุดสิ้นสุดของผังงาน



• สัญลักษณ์จุดเริ่มต้น สามารถมีได้เพียงสัญลักษณ์ละ 1 แห่งเท่านั้นในแต่ละผังงาน แต่สัญลักษณ์สิ้นสุดของผังงาน อาจมีได้มากกว่า 1 แห่ง
• สัญลักษณ์จุดเริ่มต้นของผังงานจะมีเพียงทิศทางออก ไม่มีทิศทางเข้า
• สัญลักษณ์จุดสิ้นสุดของผังงาน จะมีเพียงทิศทางเข้า ไม่มีทิศทางออก



  • การกำหนดค่า การคำนวณและการประมวลผล
    ใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีคำอธิบายลักษณะการทำงานอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัญลักษณ์นี้มีทั้งทิศทางเข้าและทิศทางออก โดยมีเพียง 1 ทิศทางเท่านั้น


• การเขียนผังงานนิยมใช้เครื่องหมายลูกศร ( <-- ) แทนเครื่องหมาย เท่ากับ ( = )

• สำหรับเครื่องหมายเท่ากับ ใช้สำหรับการเปรียบเทียบความเท่ากันระหว่างค่า 2 ค่า




  • การรับข้อมูลเข้าและการนำข้อมูลออก
    การรับข้อมูลเข้าและการนำข้อมูลออก กรณีไม่กำหนดอุปกรณ์สำหรับการนำข้อมูลเข้าและออก สัญลักษณ์ที่ใช้คือ สี่เหลี่ยมด้านขนาน ภายในสัญลักษณ์ใช้คำอธิบาย Read Input หรือรับค่า สำหรับการรับข้อมูลเข้า และใช้คำอธิบาย Write Output หรือแสดงค่า สำหรับการนำข้อมูลออก สัญลักษณ์นี้มีทิศทางเข้าและออก อย่างละ 1 ทิศทาง





  • การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์
    สัญลักษณ์ของผังงานที่ใช้สำหรับการรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์ ภายในสัญลักษณ์คือ ตัวแปรที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลที่รับเข้ามาทางแป้นพิมพ์
    สัญลักษณ์สำหรับการรับข้อมูลเข้าจากแป้นพิมพ์ มีทิศทางเข้าและทิศทางออก อย่างละ 1 ทิศทาง




  • การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ
    สัญลักษณ์สำหรับการแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพของผังงาน โดยข้อมูลที่ต้องการให้แสดงผลออกทางจอภาพ จะอยู่ภายในสัญลักษณ์นี้
    • สัญลักษณ์สำหรับการแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ มีทิศทางเข้าและทิศทางออก อย่างละ 1 ทิศทาง





  • การแสดงผลข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
    สัญลักษณ์สำหรับการแสดงผลข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ของ ผังงาน โดยข้อมูลที่ต้องการให้แสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์ จะอยู่ภายในสัญลักษณ์นี้
    • สัญลักษณ์สำหรับการแสดงผลข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ มีทิศทางเข้าและทิศทางออก อย่างละ 1 ทิศทาง




  • การตัดสินใจ
    สัญลักษณ์การตัดสินใจ ใช้สำหรับการตรวจสอบเงื่อนไข เพื่อตัดสินใจเลือกกระทำขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไป สัญลักษณ์ของผังงานที่ใช้สำหรับการตัดสินใจใช้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยมีเงื่อนไขอยู่ภายในสัญลักษณ์ สัญลักษณ์การตัดสินใจมีการใช้งานในผังงานที่มีการทำงานแบบเลือกทำ และการทำงานแบบทำซ้ำ



  • สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ มีทิศทางเข้า 1 ทิศทาง ผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขที่อยู่ในสัญลักษณ์การตัดสินใจจะมีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง และกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ดังนั้นทิศทางที่ออกจากสัญลักษณ์การตัดสินใจจะมี 2 ทิศทาง โดยใช้คำอธิบาย Yes , Y หรือ True กำกับทิศทางในกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ใช้คำอธิบาย No , N หรือ False กำกับทิศทางในกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ



  • การแสดงทิศทางการทำงานของผังงาน
    การแสดงทิศทางของขั้นตอนการทำงานของผังงาน ใช้ลูกศรสำหรับการบอกทิศทางของขั้นตอนการทำงาน การใช้ลูกศรแสดงทิศทางของขั้นตอนการทำงานนิยมเขียนจากด้านบนลงด้านล่าง หรือจากด้านซ้ายไปด้านขวา




  • การเขียนเส้นของลูกศรแสดงทิศทางการไหลของผังงาน ไม่นิยมเขียนเส้นตัดกัน ถ้ามีขั้นตอนการทำงานที่ต้องเขียนเส้นตัดกัน ต้องพยายามเลี่ยงโดยการปรับรูปของโครงสร้างผังงานใหม่ หรือใช้เครื่องหมายจุดต่อช่วยในการเขียนผังงาน


  • จุดต่อภายในหน้าเดียวกัน
    สัญลักษณ์จุดต่อภายในหน้าเดียวกัน ใช้สำหรับการเชื่อมการทำงานของผังงานที่อยู่ในหน้าเดียวกัน สัญลักษณ์จุดต่อภายในหน้าเดียวกันใช้สัญลักษณของวงกลม ภายในวงกลมระบุหมายเลขของจุดที่ต้องการต่อเชื่อมถึงกัน


  • การใช้สัญลักษณ์จุดต่อภายในหน้าเดียวกัน ใช้ในกรณีที่เส้นสำหรับแสดงทิศทางการทำงานของผังงานมีความยาวมาก หรือมีจุดตัดของเส้นที่ใช้แสดงทิศทางการทำงานเกิดขึ้น เพื่อลดความซับซ้อนของเส้นที่ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานของผังงาน ทำให้สามารถเห็นลำดับขั้นตอนการทำงานได้อย่างไม่สับสน



  • จุดต่อระหว่างหน้า
    สัญลักษณ์จุดต่อระหว่างหน้าของผังงานใช้สัญลักษณ์รูปห้าเหลี่ยม สัญลักษณ์จุดต่อระหว่างหน้าใช้สำหรับเชื่อมการทำงานของผังงานที่อยู่ต่างหน้ากัน ภายในสัญลักษณ์ระบุหมายเลขของจุดที่ต้องการต่อเชื่อมถึงกัน จุดต่อแต่ละจุดต้องมีคู่ที่ต้องการเชื่อมถึงกันเสมอ



  • การใช้งานของสัญลักษณ์จุดต่อระหว่างหน้า มีการใช้งานเหมือนกับจุดต่อภายในหน้าเดียวกัน ต่างกันเพียงใช้สำหรับเชื่อมจุดที่อยู่ต่างหน้ากัน


ตัวอย่างผังงาน

  • ตัวอย่างผังงานในการโทรศัพท์ตู้หยอดเหรียญ
  • ตัวอย่างผังงานในการส่งจดหมายทางไปรษณีย์